ผู้เขียน หัวข้อ: กำลังมองหาธนาคารเพื่อ เปิดบัญชีให้ลูก แวะทางนี้ พร้อมเผยลิสต์เอกสารที่้ต้องใช้  (อ่าน 14 ครั้ง)

waanbotan_

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
  • รับทำ SEO No.1 SEONo1.co.th
    • ดูรายละเอียด
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการ เปิดบัญชีให้ลูก เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองนิยมทำกันมาก เพราะนอกจากเพื่ออนาคตทางการเงินที่ดีของลูกแล้ว หลายครอบครัวยังใช้ปลูกฝังนิสัยการออมเงินให้กับลูกด้วยบัญชีธนาคารในลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน แต่บัญชีที่เปิดให้กับลูกมีอยู่ด้วยกันกี่ประเภท ให้ผลตอบแทนอย่างไร บัญชีธนาคารไหนน่าสนใจ และต้องใช้เอกสารอะไรในการ เปิดบัญชีให้ลูก บ้างนั้นตามมาดูพร้อม ๆ กัน

ประเภทบัญชีแบบต่าง ๆ
บัญชีเงินฝากประจำรายเดือนปลอดภาษี บัญชีประเภทนี้จะกำหนดเงื่อนไขว่าผู้ปกครองต้องฝากเงินเข้าบัญชีต่อเนื่องทุกเดือนด้วยยอดเงินเท่ากัน หากทำได้ตามเงื่อนไขนี้ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ย
บัญชีออมทรัพย์เพื่อการออมเงินสำหรับลูก บัญชีประเภทนี้เปิดให้ฝากได้ตั้งแต่แรกเกิดจนล่วงเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ไม่จำเป็นต้องฝากเงินต่อเดือนเป็นจำนวนมาก แค่ประมาณ 500 บาทก็เพียงพอ และยังได้รับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากอีกด้วย
บัญชีดอกเบี้ยพิเศษหรือโบนัสกระตุ้นการออมเงิน บัญชีประเภทนี้แท้จริงแล้วก็คือบัญชีออมทรัพย์ปกติ แต่เพิ่มความพิเศษเข้ามาตรงที่อัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป และมีโบนัสเพิ่มดอกเบี้ยให้เมื่อมียอดเงินฝากมากกว่าปกติในแต่ละเดือน

ตอนนี้เชื่อว่าพ่อแม่ผู้ปกครองน่าจะพอมีประเภทบัญชีเงินฝากในใจบ้างแล้ว ต่อไปเราจะเตรียมเอกสารเพื่อใช้ เปิดบัญชีให้ลูก ไปพร้อมกัน
เด็กอายุแรกเกิดจนถึง 15 ปี - ใช้สูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของเด็ก และบัตรประชาชนของผู้ปกครอง
เด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งมีบัตรประชาชนของตนเองเรียบร้อยแล้ว – ใช้บัตรประชาชนของเด็ก และสำเนาทะเบียนบ้าน
เด็กที่อยู่ในความดูแลของผู้ปกครองซึ่งไม่ใช่พ่อแม่ตามสายเลือด - ใช้สูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของเด็ก บัตรประชาชนของผู้ปกครอง และคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์หรือเอกสารรับบุตรบุญธรรม (ถ้ามี)

เปิดบัญชีออนไลน์ [pr]ให้ลูก ที่ธนาคารไหนดี
ธนาคารออมสิน - บัญชีเงินฝาก Youth Saving กำหนดอายุไว้ที่ 7 - 23 ปี ฝากครั้งแรกขั้นต่ำ 100 บาท จากนั้นกำหนดให้ฝากเพิ่มครั้งละไม่ต่ำกว่า 50 บาท ให้อัตราดอกเบี้ยเป็น 2 เรท ได้แก่ เงินฝากต่ำกว่า 100,000 บาท 1.25% ต่อปี และเงินฝาก 100,000 บาทขึ้นไป 0.50% ต่อปี มีการให้ดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มอีกปีละ 2 ครั้ง โดยไม่หักภาษีดอกเบี้ย เหมาะกับผู้ปกครองที่สะดวกเพิ่มยอดเงินฝากมากขึ้นเรื่อย ๆ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 50 บาท ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
ธนาคารกรุงไทย - เงินฝากออมทรัพย์พิเศษสำหรับผู้เยาว์ (KTB Kids Savings) โดดเด่นด้วยคุณสมบัติฝาก ถอน โอน ได้ตลอดไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่จำเป็นต้องฝากต่อเนื่องกันเป็นประจำทุกเดือน เปิดบัญชีครั้งแรกฝากขั้นต่ำ 2,000 บาท ครั้งต่อไปเท่าไรก็ได้ไม่จำกัดยอด แต่กำหนดให้เงินฝากสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท เปิดบัญชีได้ตั้งแต่แรกเกิด – 15 ปี อัตราดอกเบี้ยเท่ากับบัญชีออมทรัพย์ แต่หากฝากเงินมากกว่ายอดถอนจะได้รับโบนัสเพิ่ม 100% ของดอกเบี้ยที่ได้รับทุกวันต้นเดือนหลังจากเดือนที่จ่ายดอกเบี้ย เมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ บัญชีนี้จะถูกปรับเป็นบัญชีออมทรัพย์ปกติ เหมาะกับผู้ปกครองที่ต้องการความคล่องตัวในการฝาก ถอน และโอนเป็นอย่างมาก
ธนาคารกสิกรไทย - เงินฝากทวีทรัพย์ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถ เปิดบัญชีให้ลูก ที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปีได้ หรือจะพาลูกที่มีอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไปมาเปิดบัญชีเป็นชื่อของลูกก็ได้เช่นกัน บัญชีนี้เป็นบัญชีฝากประจำ [pr]ปลอดภาษี กำหนดให้ออมเงินขั้นต่ำ 500 บาทต่อเดือน เป็นจำนวนเท่า ๆ กันทุกเดือน ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี เหมาะกับผู้ปกครองที่ต้องการตัดเงินเข้าบัญชีเท่า ๆ กันทุกเดือนเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อความสะดวก
ธนาคารกรุงเทพ - บัญชีเงินฝากสินมัธยะทรัพย์ทวี – บัวหลวงคิดส์ เปิดบัญชีได้ตั้งแต่แรกเกิด – 14 ปี ให้ดอกเบี้ยฝากประจำ [pr]สูงกว่าบัญชีฝากประจำ 12 เดือน ได้รับยกเว้นภาษีดอกเบี้ย เมื่อฝากเงินเท่ากันทุกเดือนเป็นเวลา 2 ปี เลือกยอดเงินฝากได้ตั้งแต่ 500 - 25,000 บาท และมีจำนวนเงินฝากสูงสุดในบัญชีไม่เกิน 600,000 บาท เหมาะกับผู้ต้องการเปิดบัญชีฝากประจำให้กับลูก

อย่างไรก็ตามนอกจากเรื่องเกี่ยวกับเอกสารและการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารต่าง ๆ แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจ เปิดบัญชีฝากประจำ   ให้ลูก นั่นก็คือสไตล์การใช้จ่ายเงินของตนเอง เพราะหากต้องการความคล่องตัวสูงก็ไม่ควรเลือกบัญชีที่มีข้อจำกัดมากเกินไป แต่หากต้องการฝึกวินัยทางการเงินก็ควรเลือกบัญชีฝากประจำเพื่อให้มีเงินเข้าบัญชีอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้พ่อแม่ผู้ปกครองควรประเมินก่อนตัดสินใจเลือกเพื่อพร้อมเพย์คือ [pr] ให้ได้บัญชีเงินฝากที่เหมาะกับสไตล์การออมเงินของครอบครัวมากที่สุด