ผู้เขียน หัวข้อ: การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง  (อ่าน 75 ครั้ง)

Chigaru

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7248
  • รับทำ SEO No.1 SEONo1.co.th
    • ดูรายละเอียด
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค [pr] ครั้งที่ ๑ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (APEC First Senior Officials’ Meeting – SOM1 and Related Meetings) ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ ๑ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (APEC First Senior Officials? Meeting ? SOM1 and Related Meetings) ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ในฐานะเจ้าภาพเอเปค ๒๕๖๕ ไทยกำลังจะจัดการประชุมครั้งแรกของปี เพื่อปูทางประเด็นหารือที่ไทยจะผลักดันตลอดทั้งปี โดยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ ๑ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๑๔ ? ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ในรูปแบบออนไลน์ ประกอบด้วยการประชุมคณะทำงานและการสัมมนาต่าง ๆ กว่า ๓๐ การประชุม ครอบคลุมประเด็นด้านการค้าการลงทุน ความเชื่อมโยง ความร่วมมือด้านดิจิทัล ไปจนถึงความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งผลการประชุมทั้งหมดจะนำไปรายงานต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสในวันที่ ๒๔ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค นับเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการทำงานของเอเปค จะจัดขึ้นทั้งหมด ๔ ครั้ง ตลอดปี เพื่อนำผลการหารือไปจัดทำเป็นผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับผู้นำต่อไป ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ ๑ นี้ จะมีการประชุมระดับคณะทำงาน จำนวน ๑๙ กลุ่ม ที่ครอบคลุม ทุกคณะกรรมการหลักของเอเปค รวมทั้งการประชุมเชิงอภิปรายที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อขับเคลื่อนประเด็นสำคัญของวาระการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยโดยจะมีการนำความเห็นของภาคเอกชนจากสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปคมาพิจารณาในการประชุมต่าง ๆ ด้วย เพื่อให้กลไกการทำงานของเอเปคตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจมากที่สุด

ไทยมุ่งเน้นที่จะผลักดันผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการเป็นเจ้าภาพเอเปค ตามหัวข้อหลักเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล หรือ Open. Connect. Balance. โดยเปิดประเด็นการหารือต่อไปนี้

(๑) [Open] คือ การขับเคลื่อนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP) ในยุคหลังโควิด-๑๙ เพื่อประสานมุมมองเกี่ยวกับความตกลงทางการค้าที่มีมิติครอบคลุมการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืน ความมั่นคงด้านสุขภาพ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ฯลฯ เพื่อจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุนที่สามารถตอบสนองความท้าทายใหม่ ๆ ของโลกปัจจุบัน

(๒) [Connect] ? การส่งเสริมความเชื่อมโยงในเอเปค โดยเฉพาะการส่งเสริมการอำนวยความสะดวกการเดินทางข้ามแดน อาทิ การเชื่อมโยงฐานข้อมูลระบบเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure: PKI) การสร้างฐานข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกนักเดินทางและการขยายขอบข่ายของบัตรเดินทางนักธุรกิจเอเปคที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่ออำนวยความสะดวกและรื้อฟื้นการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาคอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อ ในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นคณะทำงานที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะภายใต้การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย

(๓) [Balance] ? การนำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจ สีเขียว (BCG) มาเป็นแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเอเปค โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการหารือเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินการเรื่อง BCG ร่วมกับเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคโดยเน้น ๓ สาขา คือ (๑) การเกษตรและระบบอาหาร (๒) พลังงาน และ (๓) การบริหารจัดการทรัพยากร

ในภาพรวม การขับเคลื่อนความร่วมมือต่าง ๆ เหล่านี้ จะส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจของไทยได้ประโยชน์ อาทิ จากการเดินทางข้ามพรมแดนที่สะดวกยิ่งขึ้น การเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจได้อย่างเท่าเทียมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุน นวัตกรรมทางดิจิทัล (digital innovation) การพัฒนาศักยภาพและขยายโอกาสของ MSMEs และการสร้างเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ ๑ นี้ จะเป็นบันไดนำไปสู่ผลลัพธ์ต่าง ๆ ซึ่งไทยจะดำเนินการผลักดันร่วมกับเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคตลอดทั้งปีต่อไป

ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ