แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Chigaru

หน้า: 1 ... 470 471 [472] 473 474 ... 484
7066
SAAM เปิดแผนปี 65 เน้นทำกำไรธุรกิจ [pr]ไม่เกี่ยวพลังงานหวังดันสัดส่วนใกล้โรงไฟฟ้า

นายพดด้วง คงคามี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสเอเอเอ็ม ดีเวลลอปเมนท์ (SAAM) เปิดเผยว่า บริษัทฯ คาดโครงสร้างกำไรในปี 65 จะมาจากธุรกิจพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อจำหน่าย และธุรกิจให้บริการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะเน้นการทำกำไรในธุรกิจลงทุนในกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงาน จากเดิมในปี 64 ที่มีกำไรหลักจะมาจากธุรกิจจัดหาสถานที่ตั้งและให้บริการที่เกี่ยวข้องภายในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และธุรกิจลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

ทั้งนี้เพื่อให้สัดส่วนกำไรขึ้นมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฯ และสอดคล้องกับการเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ มาเพื่อมุ่งเน้นการทำธุรกิจอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่พลังงานหมุนเวียนเพียงอย่างเดียว คาดว่าจะเห็นความชัดเจน หรือการเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ไตรมาส 1/65 เป็นต้นไป

สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 65 บริษัทฯ จะมุ่งเน้นพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพื่อจำหน่าย และให้บริการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามความต้องการของลูกค้า จากที่ได้เข้าลงนามในสัญญาให้บริการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในประเทศญี่ปุ่นกับลูกค้าเมื่อปีก่อน เนื่องจากการพัฒนาโครงการใช้ระยะเวลามากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้เดิม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีความยืดเยื้อ และทางการประเทศญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศ

ทั้งนี้ เมื่อสามารถเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ กลุ่มบริษัทฯ มีแผนที่จะเข้านัดพบและประชุมกับหน่วยงานราชการ คู่ค้าท้องถิ่น และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยทันที คาดว่าจะไม่เกินเดือนมี.ค.นี้ รวมถึงหาลูกค้ารายใหม่อย่างต่อเนื่อง

ส่วนธุรกิจลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน กลุ่มบริษัทฯ ยังคงมีความสนใจในการเข้าดำเนินธุรกิจการปลูกไม้พลังงาน (Plantation) และธุรกิจผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet) เพื่อรองรับการเติบโตของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามกระบวนการในการหาพื้นที่ยังต้องใช้ระยะเวลาในการเข้าศึกษาพื้นที่ในประเทศต่างๆ ด้วยข้อจำกัดเรื่องการเดินทางภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

นอกจากนี้กลุ่มบริษัทฯ จะพิจารณาเข้าศึกษาโอกาสทางธุรกิจอื่นๆ อย่างต่อเนื่องด้วย

สำหรับธุรกิจในกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงาน หรือโซลูชั่นปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินทรัพย์ ด้วยเทคโนโลยีวิเคราะห์และติดตามข้อมูลบิ๊กดาต้า ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทฯ ได้เข้าลงนามในสัญญาอนุญาตให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์และติดตามข้อมูลบิ๊กดาต้า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพระบบบริหาร จัดการงานเฉพาะทาง กับบริษัทคู่ค้าซึ่งเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ โดยกลุ่มบริษัทฯ ได้เข้านำเสนอข้อมูลต่อกลุ่มลูกค้าโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด กลุ่มบริษัทฯ ได้เข้าลงนามในสัญญากรอบความตกลง (Framework Agreement) กับโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เพื่อให้โรงพยาบาลทดลองใช้ระบบโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ไม่มีข้อผูกมัดในการว่าจ้างเพื่อใช้บริการหลังจากโครงการทดลองสิ้นสุดลง

นอกเหนือจากนั้น กลุ่มบริษัทฯ จะพิจารณาเข้าศึกษาโอกาสทางธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ราว 2-3 โครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยมุ่งเน้นการเข้าลงทุนในกิจการที่สร้างผลตอบแทนที่ดี และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ หากพบธุรกิจที่มีศักยภาพ จะดำเนินการตามกระบวนการขออนุมัติเข้าลงทุน

7067
G7 เตรียมอายัดทรัพย์สินชนชั้นนำ [pr]รัสเซีย เพิ่มแรงกดดันหลังบุกยูเครน

นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐเปิดเผยวานนี้ (1 มี.ค.) ว่า กลุ่มประเทศสมาชิกเตรียมจัดประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการอายัดและยึดทรัพย์สินของชนชั้นนำคนสำคัญในรัสเซีย เพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน จากกรณีที่รัสเซียบุกโจมตียูเครนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

นางเยลเลนระบุในแถลงการณ์หลังเสร็จสิ้นการประชุมร่วมกับรมว.คลังของกลุ่ม G7 ทางออนไลน์ว่า ความเคลื่อนไหวนี้จะสร้างแรงกดดันทางการเงินต่อบรรดาชนชั้นนำที่มีความใกล้ชิดกับปธน.ปูติน และเป็นการประกาศกร้าวว่าไม่มีผู้ใดที่จะรอดพ้นไปจากมาตรการคว่ำบาตรของประชาคมโลกได้

นอกจากนี้ กลุ่ม G7 จะสนับสนุนการตัดสถาบันการเงินแห่งหลัก ๆ ของรัสเซียออกจากระบบชำระเงินระหว่างประเทศ SWIFT โดยหวังว่ามาตรการคว่ำบาตรที่นานาชาติระดมใช้ลงดาบรัสเซียนั้นจะช่วยสกัดการเข้าถึงงบประมาณที่รัฐบาลรัสเซียจะใช้บุกยูเครน

มาตรการดังกล่าวยังจำกัดการเข้าถึงเงินสดสำรองมูลค่า 6.4 แสนล้านดอลลาร์ที่ใช้เพื่อปกป้องค่าเงินของประเทศ แต่รัสเซียอาจยังสามารถใช้หนทางอื่นเพื่อนำเงินมาช่วงพยุงเศรษฐกิจได้

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า มาตรการคว่ำบาตรได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรัสเซียในทันที โดยประชาชนแห่ต่อคิวยาวเหยียดหน้าธนาคารและตู้เอทีเอ็มเพื่อถอนเงินสด ท่ามกลางความหวั่นวิตกว่า บัตรธนาคารอาจถูกระงับการใช้งานหรือธนาคารอาจจำกัดการถอนเงิน ขณะที่รอยัล ดัตช์ เชลล์ เป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่ออกมาประกาศว่าจะถอนตัวจากการดำเนินงานในรัสเซีย

7068
SIRI ผลงานแกร่ง! กำไรสุทธิ [pr]ปี 64 รวม 2,017 ล้านบาท โต 21% รายได้รวม 29,558 ลบ. เศรษฐสิริ - บุราสิริ - อณาสิริ นำทัพรายได้แนวราบพุ่ง ชูผลงานปั้นมิกซ์โปรดักส์ "อณาสิริ" รายได้โต 120%

นายวิชาญ วิริยะภูษิต ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) (SIRI) เปิดเผยว่า ปี 2564 นับเป็นอีกปีท่ามกลางความท้าทายที่แสนสิริผ่านมาได้อย่างแข็งแกร่งในรอบ 37 ปี จากการมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความไว้วางใจและเชื่อมั่นจากลูกค้าจนส่งผลให้เป็นแบรนด์อันดับหนึ่งของคนอยากมีบ้าน ส่งผลให้แสนสิริได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าและมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง ทั้งในด้านผลงานยอดขายที่ทำได้ 33,500 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายถึง 29% และยอดโอน 32,500 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 21%

ล่าสุด จากการสรุปผลการดำเนินงานปี 2564 แสนสิริยังมีกำไรสุทธิ (ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ) ที่โดดเด่น โดยมีกำไรสุทธิสูงถึง 2,017 ล้านบาท โตขึ้น 21% จากปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิฯ 1,673 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 6.8% ของรายได้รวม โตขึ้นจากปีก่อนที่มีอัตรากำไรสุทธิ 4.8% โดยปัจจัยหลักมาจากความสามารถในการทำกำไรฯ ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้รวมในปี 2564 แสนสิริมีรายได้รวมทั้งสิ้น 29,558 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการขายโครงการที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 26,170 ล้านบาท

"รายได้กว่า 67% ของปี 2564 มาจากความสำเร็จของรายได้โครงการแนวราบ โดยเฉพาะรายได้จากโครงการบ้านเดี่ยวที่มีสัดส่วนถึง 49% ของรายได้จากการขายโครงการทั้งหมด หรือคิดเป็น 12,753 ล้านบาท ทั้งนี้ แสนสิริยังตอกย้ำความเป็นผู้นำการพัฒนาแบรนด์บ้านเดี่ยวระดับบน ด้วยรายได้จากแบรนด์เศรษฐสิริ และ บุราสิริ ที่สร้างรายได้ไปถึง 6,600 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา โดยแชมป์โครงการบ้านเดี่ยวที่ทำรายได้สูงสุด ประกอบด้วย โครงการเศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา, โครงการเศรษฐสิริ จรัญ-ปิ่นเกล้า 2 และโครงการเศรษฐสิริ พระราม 5 รองลงมาเป็นรายได้จากการขายโครงการคอนโดมิเนียมในสัดส่วน 33% หรือคิดเป็น 8,508 ล้านบาท โดย 3 โครงการคอนโดมิเนียมที่มีรายได้สูงสุด ได้แก่ เอ็กซ์ที ห้วยขวาง, โอกะ เฮาส์ และเอดจ์ เซ็นทรัล - พัทยา ตามลำดับ" นายวิชาญ กล่าว

แสนสิริยังสร้างผลงานจากการปั้นมิกซ์โปรดักส์ บ้านและทาวน์โฮมแบรนด์ "อณาสิริ" ระดับราคา 2 - 6 ล้านบาท ตอบรับแนวคิดการอยู่อาศัยแบบ Feel Just Right "ความพอดีที่ลงตัว" ที่ประสบความสำเร็จ สร้างรายได้ที่โดดเด่นในปี 2564 อยู่ที่ 2,633 ล้านบาท โตขึ้นถึง 120% โดยโครงการอณาสิริ บางใหญ่ ครองแชมป์แบรนด์อณาสิริที่สร้างรายได้สูงสุด ขณะที่รายได้จากการขายโครงการทาวน์โฮมของแสนสิริ ในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 2,277 ล้านบาท รายได้หลักมาจาก 4 โครงการทาวน์โฮมแบรนด์สิริ เพลส ได้แก่ สิริ เพลส ประชาอุทิศ 90, สิริ เพลส ราชพฤกษ์-พระราม 5, สิริ เพลส รังสิต-คลอง 2 และสิริ เพลส จรัญ-ปิ่นเกล้า เป็นต้น

นอกจากนี้จากการผ่อนคลายมาตรการโควิดและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในปีที่ผ่านมา ยังส่งผลให้ธุรกิจอื่นๆ ของแสนสิริ อาทิ ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจบริการอื่นๆ เติบโตขึ้น โดยในปี 2564 แสนสิริมีรายได้จากการเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนกว่า 62% ในสแตนดาร์ด อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทแม่ของเครือโรงแรม The Standard (เดอะ สแตนดาร์ด) แบรนด์ไลฟ์สไตล์ระดับโลกที่มีอิทธิพลที่สุดในธุรกิจบูทีคโฮเต็ล ที่สร้างเสียงชื่นชมทั้งในนิวยอร์ก, ไมอามี่, ลอนดอน และอีกหลายเมืองทั่วโลก สร้างรายได้จากการบริหารโรงแรมในปีที่ผ่านมาอีก 315 ล้านบาท โตขึ้นถึง 126% รวมถึงรายได้ค่าบริการอื่น ซึ่งประกอบด้วยรายได้จากธุรกิจโรงแรม อาทิ การเปิดตัว The Standard, Hua Hin (เดอะ สแตนดาร์ด หัวหิน) โรงแรมแรกในเมืองไทยและเป็นรีสอร์ตติดชายหาดแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้แบรนด์ The Standard โดยมีแสนสิริลงทุน 100% ด้วยเม็ดเงินกว่า 800 ล้านบาท ที่ได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่นจากนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนไทย กลายเป็นโรงแรมและรีสอร์ตที่ติดอันดับได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หลังเปิดให้บริการในต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา รวมถึง เดอะ เภรี โฮเต็ล หัวหิน และ เดอะ เภรี โฮเต็ล เขาใหญ่ ที่มีแสนสิริเป็นผู้ลงทุนอีกด้วย

ทั้งนี้ในปี 2565 แสนสิริยังเดินหน้าก้าวแกร่งด้วยวิสัยทัศน์ "STEP BEYOND" เติบโตแข็งแกร่งยั่งยืนในทุกมิติ ภายใต้ 3 กุญแจสำคัญขับเคลื่อนองค์กร PROFIT - PEOPLE - PLANET มุ่งสร้างรายได้และผลกำไรเพื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกส่วน และสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรด้วยแผนเปิดตัว 46 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 50,000 ล้านบาท พร้อมเป้าหมายยอดขายและยอดโอนเท่ากันที่ 35,000 ล้านบาท โดยล่าสุด แสนสิริได้ประกาศแผนคอนโดมิเนียมปี 65 เปิดตัว 18 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 11,000 ล้านบาท ครอบคลุมกรุงเทพฯ - ต่างจังหวัด โดยชูกลยุทธ์การสานต่อความสำเร็จของการพัฒนาคอนโดมิเนียม ราคาเข้าถึงได้ ไฮไลท์เปิดตัวแบรนด์คอนโด มี, เดอะ มูฟ, ดีคอนโด, เดอะ เบส และ เดอะ ไลน์ เพื่อให้แสนสิริเป็นแบรนด์เข้าถึงง่าย พร้อมปลุกกระแสแบรนด์ "เดอะ เบส" โดยเตรียมเปิดตัว THE BASE New Series ภายใต้แนวคิด "BASE ON YOU" ให้ความชอบ บอกความเป็นคุณ 5 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 7,230 ล้านบาท นำร่องโครงการแรก "เดอะ เบส ไฮท์ - เชียงใหม่" คอนโดตึกสูงแห่งแรกจากแสนสิริในเชียงใหม่ และลุยเปิด Holiday Home Condominium เตรียมเปิดตัวคอนโดมิเนียมใหม่ในหัวหิน เชียงใหม่ ขอนแก่น หาดใหญ่ พร้อมรุกสร้างยอดขายเพิ่มในพัทยา โดยตั้งเป้ายอดขายคอนโดมิเนียมปีนี้ 14,000 ล้านบาท โตขึ้นเกือบ 30% พร้อมเป้าโอนกว่า 13,000 ล้านบาท

7069
รวมกันเราตาย แยกกันเรา(อาจ)จะอยู่: การแยกบริษัทแม่ลูก [pr]เพื่อความอยู่รอด

เป็นเรื่องน่าแปลกที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนหนึ่ง ตัดสินใจแยกตัวออกมาเป็นบริษัทย่อย ทั้งที่จริง ๆ แล้ว การเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่น่าจะมีประโยชน์ต่อองค์กรในหลายๆด้าน เช่น การมีประสิทธิภาพในการผลิตที่สูงกว่าจากการได้รับประโยชน์ในด้านการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ข้อได้เปรียบในการเข้าถึงแหล่งทุน การมีฐานลูกค้าที่ใหญ่ และการมีอำนาจต่อรองในระดับสูง แต่แล้วในช่วงหลัง ๆ เราก็เริ่มเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่ รายแล้วรายเล่า ต่างก็ตัดสินใจแยกบริษัทออกมาเป็นบริษัทย่อย ๆ ล่าสุดและเข้ากับบรรยากาศการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศสหรัฐอย่าง บริษัท Johnson & Johnson ได้ ประกาศการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 135 ปี โดยแยกธุรกิจสินค้าอุปโภคกลุ่มดูแลสุขภาพออกมาจากผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ภายใน และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรก (และครั้งสุดท้าย) ที่บริษัทยักษ์ใหญ่แยกตัวออกมาเป็นบริษัทย่อย ก่อนหน้านี้เราเคยเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น บริษัท GlaxoSmithKilne (หนึ่งในผู้นำในอุตสาหกรรมยาของโลก) บริษัท Pfizer และ บริษัท General Electric (GE) ที่ก็ได้มีการแยกธุรกิจบางประเภทออกมาจัดตั้งเป็นบริษัทย่อย ในประเทศไทยเอง เราก็เคยเห็นเหตุการณ์เช่นนี้ ตัวอย่างเช่นบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้แยกธุรกิจแพ็คเกจจิ้งออกมา เป็นบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้แยกธุรกิจจำหน่ายน้ำมันและค้าปลีกออกมาเป็น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ ที่รู้จักกันดีในนาม "OR" และบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้แยกธุรกิจการผลิตและส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง ไปเป็น บริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

หรือว่าในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง (Disruption Era) อย่างเช่นในปัจจุบัน การเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อาจไม่ได้สร้างความได้เปรียบอย่างเช่นเคย บทความนี้ ผู้เขียนจึงตั้งใจที่จะนำเสนอแนวคิดและมุมมองจากทฤษฎีและงานวิจัยทางด้านการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์และบทบาทของกลยุทธ์การแยกตัว หรือ Spin-off ที่น่าจะมีข้อคิดสำคัญที่เหมาะสมกับโลกในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

ประโยชน์ข้อที่ 1: ความคล่องตัวที่มากขึ้น
ปัจจุบันนี้ไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่เป็นปลาไวและฉลาดที่กินได้แม้แต่ยักษ์ใหญ่ ดังนั้นประโยชน์ข้อแรกของกลยุทธ์การแยกตัว คือการเพิ่มความคล่องตัวในการตัดสินใจ ที่จำเป็นอย่างยิ่งในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง การเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่มีความเชื่องช้า และไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์ของโลก (และของโรค) ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ในกรณีลักษณะธุรกิจในบริษัทยักษ์มีความแตกต่างกัน เช่น ธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว (พวก New S-curve) กับธุรกิจดั้งเดิม ตัวอย่างที่น่าสนใจเช่น บริษัท IBM ได้แยกธุรกิจออกเป็น 2 ส่วนคือ ธุรกิจที่โตเร็ว (การให้บริการ Hybrid Cloud และ แพลตฟอร์มเอไอ) กับธุรกิจดั้งเดิม (ธุรกิจบริการลูกค้าด้านฮาร์ดแวร์และระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที) เนื่องจากทั้งสองมีธรรมชาติทางธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงไม่เหมาะในการบริหารภายใต้โครงสร้างเดียวกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของ บริษัท IBM ในครั้งนั้น ได้รับเสียงตอบรับในเชิงบวกจากนักวิเคราะห์และนักลงทุนทั่วโลก ตัวอย่างในประเทศไทย เช่น SCB ได้ปรับโครงสร้างและจัดตั้งบริษัทใหม่เป็น SCBX เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น SCBX ไม่ใช่แค่ธนาคาร แต่เป็นบริษัทลงทุน (Holding Company) มีบทบาทเป็น Tech Company มีความคล่องตัวมากขึ้นในการทำธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือจากการทำธุรกิจธนาคาร เน้นการขยายธุรกิจเชิงรุกทั้งธุรกิจการเงินและแพลตฟอร์มต่างๆอย่างเต็มรูปแบบ

ประโยชน์ข้อที่ 2: การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ในปัจจุบันการกำกับดูแลกิจการ หรือ Corporate Governance เป็นสิ่งที่ผู้คนโดยเฉพาะนักลงทุนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะข้อมูลข่าวสารนั้นสามารถกระจายได้ในวงกว้างและอย่างรวดเร็ว อาศัยการกระจายผ่านสื่อทางสังคม (Social Media) ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น หรือแม้แต่สื่อดั้งเดิมที่ยังมีความสำคัญอยู่ ดังนั้นการแยกตัวออกมาเป็นบริษัทย่อยจะทำให้ประสิทธิภาพของการกำกับดูแลกิจการดีขึ้น เพิ่มความโปร่งใสในด้านการตรวจสอบ และยังลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาที่ทางการเงินเรียกว่า "Agency Problem" หรือ กรณีที่ผู้บริหาร (ที่ไม่ใช้เจ้าของกิจการ) บริหารองค์กรเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เช่น การเน้นเพิ่มค่าตอบแทนของผู้บริหาร หรือการเน้นใช้ทรัพยากรของบริษัทเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับตนเอง

ประโยชน์ข้อที่ 3: การเข้าถึงแหล่งทุนที่มีประสิทธิภาพ
การแยกบริษัทออกมาเป็นบริษัทย่อยยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้นักลงทุนที่สนใจในธุรกิจที่แยกออกมา ให้สามารถลงทุนในธุรกิจนั้นได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านบริษัทแม่ เป็นการรับรู้มูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจที่ถูกแยกออกมา และยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หุ้นของบริษัทแม่อีกด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ได้ทำการแยกธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยางที่ใช้ในทางการแพทย์ออกมาเป็นบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ปัจจุบันบริษัท STA มีมูลค่าตามราคาตลาดประมาณ 45,000 ล้านบาท และบริษัท STGT มีมูลค่าประมาณ 77,000 ในขณะที่ STA ถือหุ้นใน STGT อยู่ประมาณ 50.64% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 38,000 ล้านบาท ซึ่งหมายความว่ามูลค่าหุ้นของ STGT ที่ทาง STA ถืออยู่นั้นมูลค่าเกือบเท่ากับมูลค่าทั้งบริษัทในตอนนี้

โดยรวมแล้ว แน่นอนว่าการอยู่รอดในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง หรือ Disruption Era นั้น องค์กรจำเป็นต้องมีความสามารถในการปรับตัวที่รวดเร็ว กลยุทธ์การแยกตัว หรือ Spin-off เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สามารถเพิ่มความยั่งยืนให้องค์กรโดยรวมโดยการเพิ่มความคล่องตัว เพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลกิจการ และเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงแหล่งทุน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกอีกต่อไปที่เราอาจจะเห็นบริษัทยักษ์ใหญ่ เลือกแยกธรุกิจออกมาเป็นบริษัทเล็ก ๆ มากขึ้น ในทางกลับกัน สิ่งนี้ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยให้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ยังไม่สามารถออกจากแนวคิดเดิม ๆ ที่ผู้บริหารสูงสุดจะต้องเป็นคน คนเดียวที่ "กุมบังเ.ยน" และไม่ยอม "เลือกทาง" ที่อาจจะไม่ถูกใจนัก แต่ก็เป็นทางที่ "ถูกต้อง" ในยุคโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

7070
ครม. เห็นชอบ MOU ความร่วมมือพัฒนาไฟฟ้าไทย-ลาว [pr]

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้า ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทย-ลาว และเป็นการให้ความสำคัญกับการซื้อขายพลังงานสะอาดในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

โดยจะเป็นการขยายความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้า จากเดิมที่ลาวมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ 9,000 เมกะวัตต์ โดยจะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 1,500 เมกะวัตต์ รวมเป็น 10,500 เมกะวัตต์ สำหรับจำหน่ายไฟฟ้าให้กับไทย ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจากลาว

สำหรับความร่วมมืออื่นๆ ที่จะเกิดจากการลงนามในครั้งนี้ ประกอบด้วย การพัฒนาไฟฟ้าจากแหล่งเชื้อเพลิงความร้อน นอกเหนือจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ และจะมีการส่งเสริมการพัฒนาระบบโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าและระบบการขายปลีกไฟฟ้าในลาวด้วย มีการจัดสรรทรัพยากรน้ำ รวมถึงความร่วมมืออื่นๆ ในการลดการปล่อยคาร์บอน

7071
พร้อมแล้ว! กับบริการพิเศษ Event Stickers สติ๊กเกอร์แบรนด์แจกฟรี ‼️ [pr]

เพียงใช้บริการของเรา ไม่ว่าองค์กรเล็ก หรือใหญ่ เราทำได้ ใช้เงินน้อย ได้ดั่งใจ การันตีเหมาะกับทุกองค์กร ทุกแคมเปญ เป็นที่นิยม แจกมาแล้วกว่า 500,000 ชุด ดูแลครบวงจร

7072
ครม.ไฟเขียวงบฯกว่า 1.4 พันลบ.ยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ [pr] จ.ภูเก็ต

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการจัดสรรงบประมาณ 1,411.70 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จ.ภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก โดยใช้ที่ดินราชพัสดุเนื้อที่ 141 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 66-69

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความพร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี วิทยาการทางการแพทย์ และระบบบริการทางการแพทย์รองรับการจัดบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขระดับนานาชาติที่ทันสมัย พัฒนาเมืองภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ มูลค่าสูงเชื่อมโยงการท่องเที่ยวนานาชาติ โดยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ

"การพัฒนาโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จ.ภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก จะเป็นต้นแบบด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อพลิกโฉมการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป" นายธนกร กล่าว
สำหรับสาระสำคัญของการดำเนินโครงการฯ คือ มีการจัดสร้างศูนย์บริการทางการแพทย์ครบวงจร ประกอบด้วย 1. ศูนย์บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับนานาชาติครบวงจร (International Health/Medical Plaza) 2. ศูนย์อภิบาลสุขภาพผู้สูงอายุนานาชาติ (Premium Long Term Care) 3. ศูนย์ใจรักษ์ (Hospice Home) หรือศูนย์การดูแลแบบประคับประคองในระยะสุดท้ายของชีวิต และ 4. ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูครบวงจร (Rehabilitation Center)

ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการโครงการฯ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แจ้งว่า อยู่ระหว่างการหารือ โดยมี 5 รูปแบบ ได้แก่ 1. ภาครัฐดำเนินการเอง 2. รูปแบบพิเศษ 3. โรงพยาบาลกึ่งรัฐกึ่งเอกชน 4. องค์กรมหาชน และ 5. ภาครัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ทั้งนี้ สธ. จะมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) หลังจากที่ครม. มีมติอนุมัติในหลักการการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินโครงการแล้ว

ในส่วนของประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และท้องถิ่น ในพื้นที่หลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างโอกาสการลงทุน เกิดการกระจายรายได้สำหรับภาคเอกชน เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและภาคบริการอื่น ส่งผลให้มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงขึ้น รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพรไทยด้วย

7073
ไบแนนซ์เล็งบริจาคเงิน 10 ล้านดอลล์ช่วยยูเครนพร้อมเปิดตัวเว็บไซต์ระดมทุนคริปโท [pr]ฯ

ไบแนนซ์ (Binance) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซีรายใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศบนเว็บไซต์ของบริษัทวานนี้ (27 ก.พ.) ว่า ไบแนนซ์จะบริจาคเงินขั้นต่ำ 10 ล้านดอลลาร์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ยูเครน ผ่านมูลนิธิไบแนนซ์ ชาริตี้ (Binance Charity)

เม็ดเงินดังกล่าวจะจัดสรรให้กับองค์กรหลัก ๆ ของรัฐบาล และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งรวมถึงยูนิเซฟ (UNICEF) สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), ไอแซนส์ (iSans) และพีเพิล อิน นีด (People in Need) เพื่อช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ต้องพลัดถิ่นในยูเครนและประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนี้ ไบแนนซ์ยังได้เปิดตัวเว็บไซต์ระดมทุนคริปโทฯแห่งแรกของโลกภายใต้ชื่อกองทุนบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินยูเครน (Ukraine Emergency Relief Fund) ซึ่งเปิดทางให้ประชาชนได้บริจาคคริปโทฯ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและเด็ก ๆ เป็นการเร่งด่วน รวมถึงช่วยในด้านการขนส่งทรัพยากรต่าง ๆ อาทิ อาหาร พลังงาน และข้าวของเครื่องใช้แก่ผู้อพยพ โดยไบแนนซ์ได้นำร่องบริจาคคริปโทฯ จำนวน 16,042 BNB หรือคิดเป็นเงินราว 6 ล้านดอลลาร์

ขณะเดียวกัน ไบแนนซ์ยังได้ประสานงานกับกลุ่มผู้ลี้ภัยในท้องถิ่นเพื่อเร่งช่วยเหลือประชาชนให้สามารถลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างปลอดภัยด้วย

7075
บริการสั่งอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม ครัวบ้านยาย ผ่าน GrabFood ได้แล้ว
- สั่งเมนูโปรดของคุณได้ง่ายๆ ผ่าน ...
http://bit.ly/3IVdkQY [pr]
* รับทำข้าวกล่องห

7076
www.ขายส่งเครื่องใช้ไฟฟ้า.com
เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาส่ง
ขายส่งเครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถุก

7077
Gabe Newell ผู้ก่อตั้ง Valve ออกมาให้สัมภาษณ์ในโอกาส Steam Deck เริ่มวางขาย เขาเล่าว่า Steam Deck ถือเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นของเกมพีซี เพราะถึงจุดที่เราสามารถสร้างฮาร์ดแวร์ที่เหมาะกับการพกพา มีอินพุตหลากหลาย จอที่คุณภาพดี ซีพียู-จีพียูที่มีพลังมากพอ แบตเตอรี่ที่อยู่ได้นานพอสมควร ในราคา 399 ดอลลาร์ได้สักที ช่วยเปิดศักราชใหม่ให้เกมพีซีที่พกไปเล่นที่ไหนก็ได้เขายังเทียบ Steam Deck ที่เน้นราคาเข้าถึงได้ กับแว่น Valve Index ที่เน้นตลาดไฮเอนด์ ว่าโจทย์ต่างกัน เพราะแว่น Index ต้องการผลักดันประสบการณ์ของ VR ให้ก้าวหน้าไปอย่างดีที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ ต้องยกระดับทั้งคุณภาพของภาพ การตรวจจับวัตถุ การสวมใส่สบาย ฯลฯ ในขณะที่เครื่องเล่นเกมพกพา ไม่ได้ยกระดับคุณภาพของเกมพีซี แต่เป็นการนำเกมพีซีไปเล่นที่ไหนก็ได้ ในราคาที่เข้าถึงได้Gabe ยังเปิดเผยว่า ลูกค้ากลุ่มแรกๆ ของ Steam Deck มักซื้อรุ่นความจุสูงที่สุด ซึ่งผิดความคาดหมายของ Valve ที่ตอนแรกคาดว่า 60-70% ซื้อรุ่นถูกที่สุด แต่เอาเข้าจริงแล้วกลับกัน เขามองว่าเมื่อฐานลูกค้าเริ่มขยายกว้างขึ้น ก็น่าจะเป็นไปตามที่ Valve คาดไว้เขายังเล่าถึงบทเรียนจากเครื่องเล่นเกม Steam Machine ที่สอนให้ Valve เรียนรู้ว่าต้องทำฮาร์ดแวร์ด้วยตัวเอง การหวังพึ่งบริษัทอื่นๆ ผลิตฮาร์ดแวร์ให้ตามกรอบที่ Valve. [pr] วางไว้อย่างตอน Steam Machine นั้นไม่เวิร์ค สุดท้ายแล้ว Valve ต้องเดินหน้าทำทุกอย่างเอง ตั้งแต่งานซัพพอร์ต การทำแพ็กเกจ ไปจนถึงประสบการณ์ใช้งานโจทย์ของ Valve นั้นมุ่งชัดว่าต้องการนำเกมพีซีอย่าง Final Fantasy XIV มาเล่นบนอุปกรณ์พกพา จึงต้องแก้ปัญหาทุกอย่างในฝั่งของซอฟต์แวร์ให้ได้ (เขายังเล่าว่าตอนนี้ติด FFXIV อยู่ หลังเป็นแฟน World of Warcraft มายาวนาน)
MyMainer.com [pr]

7079
ภาวะตลาดหุ้นไทย [pr]ปิดบวก 9.10 จุด รับ Sentiment เชิงบวกหลังยูเครน-รัสเซียตกลงเจรจา

ตลาดหลักทรัพย์ ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,694.28 จุด เพิ่มขึ้น 9.10 จุด (+0.54%) มูลค่าการซื้อขาย 91,815.23 ล้านบาท

การซื้อขายหุ้นวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัวในแดนบวกตลอดทั้งวัน โดยดัชนีทำระดับสูงสุด 1,701.69 จุด และลงไปลึกถึงระดับต่ำสุดที่ 1,690.82 จุด

ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวันนี้ เพิ่มขึ้น 1,089 หลักทรัพย์ ลดลง 741 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 534 หลักทรัพย์

นายกรภัทร วรเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการการลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้แกว่งตัวแดนบวกตามดัชนีตลาดหุ้นอื่นๆในต่างประเทศ โดยได้รับ Sentiment เชิงบวกหลังตัวแทนจากยูเครนกับรัสเซียตกลงที่จะจัดการเจรจาเพื่อหาทางออกต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอย่างต่อเนื่อง ว่าจะมีพัฒนาการอย่างไรต่อไป ในขณะเดียวกันให้ติดตามท่าทีของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะกล่าวถึงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในวันที่ 2-3 มี.ค.นี้

แนวโน้มวันพรุ่งนี้คาดตลาดหุ้นไทยจะยังคงแกว่ง Sideway ต่อเนื่อง โดยยังคงติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน พร้อมให้แนวรับ 1,674-1,680 จุด และแนวต้าน 1,700-1,704 จุด

ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์

KBANK มูลค่าการซื้อขาย 4,014.48 ล้านบาท ปิดที่ 163.00 บาท ลดลง 0.50 บาท

PTTEP มูลค่าการซื้อขาย 3,379.30 ล้านบาท ปิดที่ 137.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท

BANPU มูลค่าการซื้อขาย 3,196.43 ล้านบาท ปิดที่ 11.30 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาท

BBL มูลค่าการซื้อขาย 2,867.12 ล้านบาท ปิดที่ 137.00 บาท ลดลง 3.00 บาท

CPALL มูลค่าการซื้อขาย 2,600.93 ล้านบาท ปิดที่ 68.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท

7080
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก [pr]ดาวโจนส์ปิดร่วง 597.65 จุด กังวลสงครามยูเครนยืดเยื้อ

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเกือบ 600 จุดในวันอังคาร (1 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน รวมทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังจากชาติมหาอำนาจพร้อมใจกันคว่ำบาตรรัสเซีย ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะแถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,294.95 จุด ร่วงลง 597.65 จุด หรือ -1.76%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,306.26 จุด ลดลง 67.68 จุด หรือ -1.55% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,532.46 จุด ร่วงลง 218.94 จุด หรือ -1.59%

ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างผันผวนและตื่นตระหนกเนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายลง โดยดัชนีความผันผวน CBOE หรือ CBOE Volatility Index (VIX) ซึ่งเป็นมาตรวัดความวิตกของนักลงทุนในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท พุ่งขึ้น 13.57% สู่ระดับ 34.24 เมื่อคืนนี้

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า รัสเซียได้เตือนให้ประชาชนยูเครนอพยพออกจากบ้านเรือน ก่อนที่จะระดมยิงจรวดเข้าใส่เมืองคาร์คีฟซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของยูเครน ขณะที่นายเซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีกลาโหมของรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียจะยังคงใช้ปฏิบัติการพิเศษทางทหารต่อยูเครน จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายหลักในการปกป้องตนเองจากภัยคุกคามของชาติตะวันตก

หุ้น 10 ใน 11 กลุ่มที่คำนวณในดัชนี S&P500 ปรับตัวลง นำโดยดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง 3.7% โดยหุ้นโกลด์แมน แซคส์ ร่วงลง 3.79% หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ดิ่งลง 3.91% หุ้นมอร์แกน สแตนลีย์ ร่วงลง 3.42% หุ้นเจพีมอร์แกน ร่วงลง 3.77%

ทั้งนี้ ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดิ่งลงสู่ระดับ 1.721% เมื่อคืนนี้ ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรของภาคธนาคารในสภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ

ดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ดิ่งลง 3.6% นำโดยหุ้นแอดวานซ์ ไมโคร ดิไวซ์ (เอเอ็มดี) ร่วงลง 7.71% หุ้นเท็กซัส อินสตรูเมนท์ ลดลง 1.59% หุ้นเอสทีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ร่วงลง 2.62% หุ้นอินเทล ร่วงลง 1.84% หุ้นควอลคอมม์ ดิ่งลง 4.84% หุ้นอินวิเดีย ร่วงลง 3.72%

อย่างไรก็ดี ดัชนีหุ้นกลุ่มพลังงานพุ่งขึ้น 1% หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ทะยานขึ้นเหนือระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อคืนนี้ โดยหุ้นเชฟรอน พุ่งขึ้น 3.99% หุ้นเอ็กซอน โมบิล บวก 0.97% หุ้นอ็อคซิเดนเชียล ปิโตรเลียม พุ่งขึ้น 7.02%

ส่วนหุ้นบริษัทผลิตอาวุธและบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังคงได้รับแรงซื้อท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน โดยหุ้นนอร์ธรอป กรัมแมน (Northrop Grumman) พุ่งขึ้น 3.16% หุ้นล็อคฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) พุ่งขึ้น 5.23% หุ้นคราวด์สไตร์ค โฮลดิ้งส์ (CrowdStrike Holdings) ปรับตัวขึ้น 1.24%

หุ้นทาร์เก็ต ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐ พุ่งขึ้น 9.9% หลังบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 4/2564 ที่ระดับ 3.19 ดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.86 ดอลลาร์

หุ้นโคห์ลส์ คอร์ป ซึ่งเป็นห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ดีดตัวขึ้น 2.19% หลังบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 4/2564 ที่ระดับ 2.20 ดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.12 ดอลลาร์

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.พ.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 415,000 ตำแหน่ง

นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีกำหนดกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในวันที่ 2 มี.ค. และจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันที่ 3 มี.ค. โดยการแถลงทั้งสองวันจะเริ่มขึ้นในเวลา 10.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือ 22.00 น.ตามเวลาไทย

หน้า: 1 ... 470 471 [472] 473 474 ... 484