ผู้เขียน หัวข้อ: ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบ สถานการณ์ตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครนฉุดตลาด  (อ่าน 65 ครั้ง)

Thetaiso

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1463
  • รับทำ SEO No.1 SEONo1.co.th
    • ดูรายละเอียด
ตลาดหุ้นเอเชีย [pr]เปิดลบ สถานการณ์ตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครนฉุดตลาด

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดในแดนลบเช้านี้ เนื่องจากนักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐยืนยันว่ารัสเซียพร้อมที่จะบุกโจมตียูเครนทุกขณะ

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 26,895.16 จุด ลดลง 337.71 จุด หรือ -1.24%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 24,633.66 จุด ลดลง 159.11 จุด หรือ -0.64 จุด และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,451.63 จุด ลดลง 16.41 จุด หรือ -0.47%

นักลงทุนยังคงวิตกกังวลถึงความเป็นไปได้ที่รัสเซียจะบุกโจมตียูเครน ซึ่งจะส่งผลให้ชาติตะวันตกที่รวมถึงสหรัฐใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย โดยนายไบรอัน โอทูล อดีตที่ปรึกษาระดับอาวุโสของผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมทรัพย์สินในต่างประเทศ (OFAC) ของกระทรวงการคลังสหรัฐกล่าวว่า มาตรการลงโทษขั้นรุนแรงที่สุดที่องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) จะตอบโต้รัสเซียในกรณียกพลบุกโจมตียูเครนก็คือ การออกมาตรการคว่ำบาตรภาคธนาคารของรัสเซียไม่ให้เข้าถึงสกุลเงินดอลลาร์ของสหรัฐ ซึ่งจะทำให้ธนาคารรัสเซียไม่สามารถทำธุรกรรมด้วยเงินสกุลดอลลาร์ได้

ภาพถ่ายดาวเทียมจากบริษัทแม็กซาร์ เทคโนโลยีของสหรัฐเปิดเผยให้เห็นว่า กองทัพรัสเซียได้เคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์บางส่วนออกจากชายแดนยูเครนแล้ว แต่ก็มีการขนส่งอาวุธใหม่เข้ามา โดยหลักฐานดังกล่าวบ่งชี้ว่า รัสเซียยังคงตรึงกำลังทหารและมียุทโธปกรณ์จำนวนมากตามแนวชายแดนยูเครน แม้กองทัพรัสเซียกล่าวอ้างก่อนหน้านี้ว่ามีการถอนกำลังทหารบางส่วนออกไปก็ตาม

นอกจากนี้ รัฐบาลรัสเซียยังได้สั่งขับนายบาร์เทิล กอร์แมน ผู้ช่วยเอกอัครราชทูตสหรัฐออกจากประเทศ ขณะที่นายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐกล่าวในการประชุมฉุกเฉินของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) วานนี้ว่า รัสเซียเตรียมการโจมตียูเครน โดยจะมีการใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจในภูมิภาคที่รายงานวันนี้ กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสดซึ่งมีความผันผวน เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น และเงินเยนที่ยังอ่อนค่าลง